วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะตะวันตก (ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


ศิลปะตะวันตก
(ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


  ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี กลุ่ม คือ
  1. ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
  2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)

.ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
สะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา  ความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง  ใช้สีที่รุนแรง (สลายตัว ค.ศ.๑๙๑๓  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่๑)
แนวทางการสร้างสรรค์งานจะสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง 
2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)
ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากว่าแวนโก๊ะ แนวทางการสร้างสรรค์เป็นแบบผ่อนคลายกระทำความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง เป็นการแสดงอารมณ์แบบรุนแรงที่แผงความสนุกสนาน ใช้สี   เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรี (สลายตัว ค.ศ. 1914 เพราะWW.I)


                ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
                ศิลปิน มาทิสส์ (Matisse)
ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ ผลงานที่สำคัญ คือ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง”  “ห้องสีแดง” มาทิสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียด ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก

                       มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, 1905 / ประติมากรรมชุดข้างหลังผู้หญิง,โดย มาทิสส์, 1909-29



                 ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
                 ศิลปิล เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch)
เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์ เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863ทางภาคใต้ของนอรเวย์  ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ ภาพ เสียงร้องไห้”  หรือ The Cry ซึ่งเขียนในปี ค..1893 เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขา 

 เสียงร้องไห้, มูงส์, 1893


                ศิลปินลัทธิบิสม์
                ศิลปิน ปาโบล ปิคัสโซ (Pablo Picasso)
ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า พัฒนาผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง  เริ่มจากการทำงานตามแบบแผนที่มีโครงสร้าง โดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขา

                                                        สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937



            ศิลปิน จอร์จ บราค
เกิดที่เมืองเลออาฟร์ ใกล้กรุงปารีสเรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากรเมื่อพบกับดูฟี (Doufi) และฟิทซ์ (Fitz) ศิลปินลัทธิโฟวิสม์  จึงหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์ ผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ บราค มี อาที บ้านที่เลสตัค” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น โต๊ะนักดนตรี” “แท่นสีดำ” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น หัวม้า” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ

                                                         โรเบิร์ต เดอ โลเนย์ (หอไอเฟล)



ศิลปะลัทธินามธรรม (Abstractionism Art)
ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนะธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
  1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
  2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค 

1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที
2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิกสร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์ โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน(Mondrian) เป็นผู้นำให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม (Op Art) ในอเมริกา

                                                         The composition, Kandinsky, 1939


                ศิลปิน แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock)
               ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด สลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม ด้วยสีสัน



         ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่ เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง ศิลปะฟิวเจอร์ริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)

  บอคโซนี (Boczoni)
 ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นปัจจัยทางปัญญาและความคิด ทำให้บอคโซนีใช้ในการพัฒนาการงานรูปแบบฟิวเจอริสม์ภาพ “เมืองเติบโต” เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่

                                               Umberto Boccioni, The City Rises (1910)

จิอาโคโม บอลลา (Chiacomo Balla)
1.มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
2.บทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด ตั้งแต่ ค..1920
3.เป็นครูของ บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค..1900



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&


ที่มา :  Powerpoint อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนะสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น