วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะตะวันตก (ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


ศิลปะตะวันตก
(ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


  ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี กลุ่ม คือ
  1. ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
  2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)

.ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
สะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา  ความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง  ใช้สีที่รุนแรง (สลายตัว ค.ศ.๑๙๑๓  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่๑)
แนวทางการสร้างสรรค์งานจะสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง 
2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)
ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากว่าแวนโก๊ะ แนวทางการสร้างสรรค์เป็นแบบผ่อนคลายกระทำความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง เป็นการแสดงอารมณ์แบบรุนแรงที่แผงความสนุกสนาน ใช้สี   เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรี (สลายตัว ค.ศ. 1914 เพราะWW.I)


                ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
                ศิลปิน มาทิสส์ (Matisse)
ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ ผลงานที่สำคัญ คือ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง”  “ห้องสีแดง” มาทิสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียด ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก

                       มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, 1905 / ประติมากรรมชุดข้างหลังผู้หญิง,โดย มาทิสส์, 1909-29



                 ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
                 ศิลปิล เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch)
เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์ เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863ทางภาคใต้ของนอรเวย์  ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ ภาพ เสียงร้องไห้”  หรือ The Cry ซึ่งเขียนในปี ค..1893 เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขา 

 เสียงร้องไห้, มูงส์, 1893


                ศิลปินลัทธิบิสม์
                ศิลปิน ปาโบล ปิคัสโซ (Pablo Picasso)
ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า พัฒนาผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง  เริ่มจากการทำงานตามแบบแผนที่มีโครงสร้าง โดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขา

                                                        สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937



            ศิลปิน จอร์จ บราค
เกิดที่เมืองเลออาฟร์ ใกล้กรุงปารีสเรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากรเมื่อพบกับดูฟี (Doufi) และฟิทซ์ (Fitz) ศิลปินลัทธิโฟวิสม์  จึงหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์ ผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ บราค มี อาที บ้านที่เลสตัค” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น โต๊ะนักดนตรี” “แท่นสีดำ” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น หัวม้า” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ

                                                         โรเบิร์ต เดอ โลเนย์ (หอไอเฟล)



ศิลปะลัทธินามธรรม (Abstractionism Art)
ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนะธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
  1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
  2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค 

1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที
2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิกสร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์ โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน(Mondrian) เป็นผู้นำให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม (Op Art) ในอเมริกา

                                                         The composition, Kandinsky, 1939


                ศิลปิน แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock)
               ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด สลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม ด้วยสีสัน



         ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่ เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง ศิลปะฟิวเจอร์ริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)

  บอคโซนี (Boczoni)
 ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นปัจจัยทางปัญญาและความคิด ทำให้บอคโซนีใช้ในการพัฒนาการงานรูปแบบฟิวเจอริสม์ภาพ “เมืองเติบโต” เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่

                                               Umberto Boccioni, The City Rises (1910)

จิอาโคโม บอลลา (Chiacomo Balla)
1.มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
2.บทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด ตั้งแต่ ค..1920
3.เป็นครูของ บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค..1900



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&


ที่มา :  Powerpoint อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนะสาร

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย





      การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง


1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้

                    
  • ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
  • ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมาย
  • ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
  • ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
  • ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
  • ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
  • ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการ
  • ด้านการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก  ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
  • ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
  • ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
  • ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น




###########################
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : 
ศิริพร ดาบเพชร  คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

เทพเจ้าในความเชื่อของชาวตะวันตก


    Athena เทพีอะธีนา หรือ อาเธน่า >>เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งสงครามและงานหัตถกรรม

ป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ได้รับสมญานามว่าเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ นอกจากนี้ยังได้รับสมญานามเป็น เทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งงานหัตถกรรม (โดยเฉพาะงานทอผ้า ปั้นหม้อ และงานไม้) อีกด้วย

การถือกำเนิดของอาเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง เทพซุส ได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดา ที่ประสูติจากมเหสีเจ้าปัญญา   นามมีทิส  (Metis)นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ของพระองค์ เทพซุส ก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิส ซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่นานนักซุสก็บังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง จึงมีเทวโองการสั่งให้เรียกประชุมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่ความพยายามของทวยเทพก็ไม่เป็นผล ซุสไม่อาจทนความเจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็ก ใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอาเธน่ากระโดดออกมาในลักษณะเจริญเต็มวัย แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาวพร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิดอาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไปทั้งโลก



การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุข ให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครองโลก จนตราบเท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพออาเธน่าผุดจากเศียรซุส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูปก็ล่าหนีไป ด้วยเหตุนี้เทวีอาเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้นอาเธน่ายังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และ เชื่อว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนาง มักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์ และหอกที่มือซ้าย พร้อมถือ เทพีไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา






***************************************************
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี