วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะตะวันตก (ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


ศิลปะตะวันตก
(ยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ - สงครามโลกครั้งที่๑)


  ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสม์ที่สำคัญมี กลุ่ม คือ
  1. ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
  2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)

.ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge)
สะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา  ความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม หลอกลวง  ใช้สีที่รุนแรง (สลายตัว ค.ศ.๑๙๑๓  จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่๑)
แนวทางการสร้างสรรค์งานจะสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าความจริง 
2. กลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue  Rider)
ได้รับอิทธิพลของโกแกงมากว่าแวนโก๊ะ แนวทางการสร้างสรรค์เป็นแบบผ่อนคลายกระทำความรู้สึกของผู้ชมจากความรู้สึกน่าขยะแขยง เป็นการแสดงอารมณ์แบบรุนแรงที่แผงความสนุกสนาน ใช้สี   เส้น และการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรี (สลายตัว ค.ศ. 1914 เพราะWW.I)


                ศิลปะลัทธิโฟวิสม์
                ศิลปิน มาทิสส์ (Matisse)
ผลงานช่วงแรกของมาทิสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ ผลงานที่สำคัญ คือ “ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง”  “ห้องสีแดง” มาทิสส์สร้างงานที่ไม่เน้นรายละเอียด ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก

                       มาดามมาทิสส์ โดย มาทิสส์, 1905 / ประติมากรรมชุดข้างหลังผู้หญิง,โดย มาทิสส์, 1909-29



                 ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
                 ศิลปิล เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch)
เป็นผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์ เกิดวันที่ 12 ธันวาคม 1863ทางภาคใต้ของนอรเวย์  ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ ภาพ เสียงร้องไห้”  หรือ The Cry ซึ่งเขียนในปี ค..1893 เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขา 

 เสียงร้องไห้, มูงส์, 1893


                ศิลปินลัทธิบิสม์
                ศิลปิน ปาโบล ปิคัสโซ (Pablo Picasso)
ปิคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้า พัฒนาผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง  เริ่มจากการทำงานตามแบบแผนที่มีโครงสร้าง โดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมองแบบยุคม้าสีน้ำเงิน  สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขา

                                                        สมบัติส่วนตัวของปิคัสโซ, 1937



            ศิลปิน จอร์จ บราค
เกิดที่เมืองเลออาฟร์ ใกล้กรุงปารีสเรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากรเมื่อพบกับดูฟี (Doufi) และฟิทซ์ (Fitz) ศิลปินลัทธิโฟวิสม์  จึงหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์ ผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ บราค มี อาที บ้านที่เลสตัค” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น โต๊ะนักดนตรี” “แท่นสีดำ” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น หัวม้า” อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ

                                                         โรเบิร์ต เดอ โลเนย์ (หอไอเฟล)



ศิลปะลัทธินามธรรม (Abstractionism Art)
ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนะธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
  1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
  2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค 

1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ ศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วแสดงออกอย่างทันที
2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิกสร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์ โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุม ศิลปินกลุ่มนี้มีมงเดรียน(Mondrian) เป็นผู้นำให้อิทธิพลต่อ Abstract แบบขอบคม (Op Art) ในอเมริกา

                                                         The composition, Kandinsky, 1939


                ศิลปิน แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock)
               ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting สร้างงานจิตรกรรมโดยการสาด สลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม ด้วยสีสัน



         ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่ เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง ศิลปะฟิวเจอร์ริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
ศิลปินเกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี อาทิ บอคโซนี (Boczoni)/บาลลา (Balla)/คาร์รา(Carra)/เซเวอรินี (Severini)/รุสโซโล (Russolo)

  บอคโซนี (Boczoni)
 ประสบการณ์ต่าง ๆ เป็นปัจจัยทางปัญญาและความคิด ทำให้บอคโซนีใช้ในการพัฒนาการงานรูปแบบฟิวเจอริสม์ภาพ “เมืองเติบโต” เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่

                                               Umberto Boccioni, The City Rises (1910)

จิอาโคโม บอลลา (Chiacomo Balla)
1.มีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก
2.บทบาทสร้างสรรค์งานแบบฟิวเจอริสม์มากและยาวนานที่สุด ตั้งแต่ ค..1920
3.เป็นครูของ บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค..1900



&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&&


ที่มา :  Powerpoint อาจารย์ พิทยะ ศรีวัฒนะสาร

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย





      การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน  วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย  โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย  ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง


1.  วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย          อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย  เช่น  สุโขทัย  ล้านนา  ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย  จีน  เปอร์เซีย  เพื่อนบ้าน  เช่น  เขมร  มอญ  พม่า  โดยผ่านการติดต่อค้าขาย  การรับราชการของชาวต่างชาติ  การทูต  และการทำสงคราม          สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้

                    
  • ด้านอักษรศาสตร์  เช่น  ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม  รับภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา  ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  จากอินเดีย  เขมร  นอกจากนี้  ในปัจจุบันภาษาจีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี  ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
  • ด้านกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมาย  มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย  ได้แก่  คัมภีร์พระธรรมศาสตร์  โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง  และกลายเป็นหลักของกฎหมาย
  • ด้านศาสนา  พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว  ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ  เช่น  ทวารวดี  หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา  หรือสุโขทัย  รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา  นอกจากนี้  คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่  รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา
  • ด้านวรรณกรรม  ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์  มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องอิเหนาจากชวา  ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน  เช่น  สามก๊ก  ไซอิ๋ว  วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น  ราชาธิราชของชาวมอญ  อาหรับราตรีของเปอร์เซีย  เป็นต้น
  • ด้านศิลปวิทยาการ  เช่น    เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน  รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย  ศรีลังกา
  • ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต  เช่น   คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู  รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง  เครื่องเทศจากอินเดีย  รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด  การใช้กะทะ  การใช้น้ำมันจากจีน  ในด้านการแต่งกาย  คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย  เป็นต้น

2.  วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย          ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร  สถาปัตยกรรม  ศิลปวิทยาการ  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3  เป็นต้นมา  คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น  ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน          ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
  • ด้านการทหาร  เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา  โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้  มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก  เช่น  ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส  ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการ
  • ด้านการศึกษา  ในสมัยรัชกาลที่ 3  มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง  เช่น  พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก  ในสมัยรัชกาลที่ 4  ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก  ในสมัยรัชการลที่ 5  มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่  ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่  ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น  โรงเรียนแพทย์  โรงเรียนกฎหมาย  ในสมัยรัชกาลที่ 6  มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ด้านวิทยาการ  เช่น  ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่  ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3  ในสมัยรัชกาลที่ 5  มีการจัดตั้งโรงพยาบาล  โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล  ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน
  • ด้านการพิมพ์  เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387  ชื่อ  "บางกอกรีคอร์เดอร์"  การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น  ในด้านการสื่อสารคมนาคม  เช่น  การสร้างถนน  สะพาน  โทรทัศน์  โทรศัพท์  กล้องถ่ายรูป  รถยนต์  รถไฟฟ้า  เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นต้น  ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
  • ด้านแนวคิดแบบตะวันตก  การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง  เช่น  ประชาธิปไตย  คอมมิวนิสต์  สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย  และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง  นอกจากนี้  วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว  และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย  เช่น  การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย  เช่น  งานเขียนของดอกไม้สด  ศรีบูรพา
  • ด้านวิถีการดำเนินชีวิต  การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้  ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป  เช่น  การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ  การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น  การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก  การปลูกสร้างพระราชวัง  อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก  ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก  เช่น  ฟุตบอล  กอล์ฟ  เข้ามาเผยแพร่  เป็นต้น




###########################
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก : 
ศิริพร ดาบเพชร  คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

เทพเจ้าในความเชื่อของชาวตะวันตก


    Athena เทพีอะธีนา หรือ อาเธน่า >>เทพีแห่งปัญญา เทพีแห่งสงครามและงานหัตถกรรม

ป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ได้รับสมญานามว่าเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ นอกจากนี้ยังได้รับสมญานามเป็น เทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งงานหัตถกรรม (โดยเฉพาะงานทอผ้า ปั้นหม้อ และงานไม้) อีกด้วย

การถือกำเนิดของอาเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง เทพซุส ได้รับคำทำนายว่า โอรสธิดา ที่ประสูติจากมเหสีเจ้าปัญญา   นามมีทิส  (Metis)นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ของพระองค์ เทพซุส ก็แก้ปัญหาด้วยการจับเอามีทิส ซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่นานนักซุสก็บังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำลัง จึงมีเทวโองการสั่งให้เรียกประชุมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำบัดเยียวยา แต่ความพยายามของทวยเทพก็ไม่เป็นผล ซุสไม่อาจทนความเจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็ก ใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอาเธน่ากระโดดออกมาในลักษณะเจริญเต็มวัย แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาวพร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและมหาสมุทร ก็บังเกิดอาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ประกาศกำเนิดเทวีองค์นี้สนั่นไปทั้งโลก



การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุข ให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลาที่ครองโลก จนตราบเท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพออาเธน่าผุดจากเศียรซุส เทวีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูปก็ล่าหนีไป ด้วยเหตุนี้เทวีอาเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้นอาเธน่ายังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และ เชื่อว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนาง มักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์ และหอกที่มือซ้าย พร้อมถือ เทพีไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา






***************************************************
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี



วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Post Modern


Post Modern (ยุคนวนิยมหรือยุคหลังสมัย)


     Post Modern  คือ  แนวความคิดที่มาหลังจากยุุค modern ซึ่งเป็นช่วงหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่อะไรต่างๆถูกกำหนดอยู่ในหลักเกณฑ์และทฤษฏี แต่ยุค postmodern เป็นยุคที่ปฏิเสธสิ่งเดิมๆในยุคmodern โดยเน้นเสรีภาพและอิสระของบุคคล ไม่เชื่อในโลกของความจริง ไม่เชื่อเรื่องความเป็นสากล เพราะเชื่อว่าแต่ละคนแต่ละวัฒนธรรมนั้นมีเหตุผลของตัวเอง ไม่ควรจะให้ใครมาตัดสินว่าอันไหนสิ่งใดดีที่สุด แล้วคิดว่าสิ่งนั้นต้องดีสำหรับคนอื่นด้วย ดังนั้นจึงไม่คิดว่าสังคมที่คิดว่าเป็นสากลนั้นไม่มีจริง!!






     “หลังสมัยใหม่เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน ความเป็นสมัยใหม่หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน ความเจริญหรือ ความก้าวหน้าแบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ  ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ สมัยใหม่ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ หลังสมัยใหม่มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ ศิลปะกระแสหลักที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดูการมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่






  "Jean-Francois Lyotard" ได้รับการยกย่องในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีหลังสมัยใหม่ในระดับสุดยอด (par excellence) ในหนังสือของเขาเรื่อง The Postmodern Condition (1984; orig. 1979) ได้แนะนำถึงศัพท์คำนี้ต่อสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และได้ถูกนำไปสนทนากันทั่วไปในการถกกันเกี่ยวกับหัวข้อ postmodern ในช่วงทศวรรษหลังมานี้ ระหว่างวันเวลาดังกล่าว Lyotard ได้ตีพิมพ์งานหนังสือขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งให้การส่งเสริมฐานะสภาพต่างๆ ของหลังสมัยใหม่ในทางทฤษฎี จริยศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเขาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ "อนุพรรณา" (litter narrative) ที่เน้นความสำคัญของการเล่าเรื่องในระดับแคบ 
ลักษณะ Post modern 


  1. การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง 
  2. การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน
  3. Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
  4. Post modern ปฏิเสธ จุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไป จากบริบทอย่างสิ้นเชิง



    สรุปได้ว่า ท่ามกลางยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกระแสความคิดและสภาพสังคมที่หลากหลาย แยกย่อย กระจัดกระจายนั้น ดูเหมือนแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) กำลังเป็นกระแสที่มีอิทธิพลมากพอต่อนักคิดนักปรัชญา นักการเมือง ศิลปิน นักเศรษฐศาสตร์ นักสังคมวิทยา นักมานุษยวิทยา นักวัฒนธรรมศึกษา หรือแม้แต่นักการศึกษาที่ได้อาศัยแนวคิดเชิงวิพากษ์ในการตั้งคำถามต่อ ประเด็นปัญหาต่างๆ ทั้งในระดับจุลภาคและระดับสังคม ซึ่งคาดว่าแนวโน้มจะยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องไป








^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^